ตลอดระยะเวลา 35 ปีที่ผ่านมา บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จํากัด (มหาชน) หรือ DMT ได้ดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักการดําเนินงานควบคู่ไปกับการรับผิดชอบต่อสังคมมาโดยตลอด ด้วยความตั้งใจที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างสังคมที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืนตามแนวทาง ESG คือ การดูแลสิ่งแวดล้อม การตอบแทนสังคม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการกำกับดูแลองค์กรอย่างมีธรรมาภิบาล จึงได้มีการกำหนดแผนงานกิจกรรมเพื่อสังคมที่สอดคล้องกับนโยบายไว้ทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่
- Tollway Smart Way ยกระดับการศึกษา
- Tollway Healthy Way ยกระดับสุขภาพที่ดีของสังคม
- Tollway Safety Way ยกระดับความปลอดภัยบนท้องถนน
- Tollway Better Way ยกระดับคุณภาพชีวิตสังคม
- Tollway Green Way ยกระดับสิ่งแวดล้อม
โครงการ ปั้น ปลูก คิด(ส์) เป็นหนึ่งในแผนงานกิจกรรม Tollway Green Way ยกระดับสิ่งแวดล้อม และเฟ้นหาเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทย บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ((Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายที่ 12 คือสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เกิดภาคีสมาชิกด้านสิ่งแวดล้อม
โดยเมื่อพูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม เชื่อว่าประเด็นที่ทุกคนน่าจะนึกถึงกันเป็นลำดับต้นๆ น่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับขยะ โดยที่ผ่านมาเราต่างพยายามจะปลูกฝัง สร้างองค์ความรู้ ตลอดจนรณรงค์เกี่ยวกับการจัดการขยะมาเป็นเวลานาน แต่ดูเหมือนว่ายังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างแท้จริง
คุณอัจฉรา เจริญพร ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส สายงานพัฒนาความยั่งยืนองค์กร กล่าวว่า “ในปีนี้โครงการปั้น ปลูก คิด(ส์) ยังคงมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสานต่อวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ขององค์กรในการปั้นเจตนารมย์ดีๆของเยาวชน และปลูกความรู้ความสามารถของคนรุ่นใหม่งอกงามเติบโตขึ้นเป็นโครงการที่สร้างประโยชน์ให้สังคมอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ DMT มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันผลงานที่ได้รับการคัดเลือกถูกนำไปต่อยอด และนำไปปรับใช้ในชุมชนต่างๆ ได้อย่างยั่งยืน และอยากฝากให้ทุกท่านติดตามผลงานดีๆ จากน้องๆ ด้วย”
คุณนพพล โพธิ์ขี ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและกลยุทธ์เพื่อความยั่งยืน กล่าวเสริมว่า “โครงการนี้ได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 เนื่องจากปีที่แล้วผลงานจากผู้ชนะโครงการ “ปั้น ปลูก คิด(ส์) ได้ถูกพัฒนาและต่อยอดนำไปสู่การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเด็กปั้นปุ๋ย‘วิสาหกิจชุมชนเด็กปั้นปุ๋ย’ นับเป็นความสำเร็จอย่างยิ่ง และเรามีความภูมิใจที่โครงการนี้ได้สร้างรายได้ให้กับชุมชนบ้านหนองโก หมู่ที่ 3 ตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม โดยมีชาวบ้านเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 120 ครัวเรือน แต่ละคนมีรายได้เฉลี่ยประมาณเดือนละ 40,000 บาท และตลอด 1 ปีที่ผ่านมา จากต้นกล้าต้นเล็กๆ ที่ได้รับการปั้นและปลูกมาเป็นอย่างดี ‘วิสาหกิจชุมชนเด็กปั้นปุ๋ย’ ยังชนะรางวัลที่ 2 ในการประกวดชุมชนเข้มแข็งของอำเภอบรบือ ซึ่งจัดโดยท่านนายอำเภอบรบือ มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 15 ตำบล และน้องสมาชิกได้เป็นเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้กับหน่วยงานต่างๆ ใกล้เคียง
อาทิ อบต.แกดำ อบต.แวงน่าน และตามโรงเรียนต่าง ๆ รวมถึงเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมต่อไป
สำหรับโครงการปั้น ปลูก คิด (ส์) ปี 2 นี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากน้องๆ นักเรียน นิสิต นักศึกษาทั่วประเทศ ส่งผลงานเข้าประกวด โดยได้ทีมที่ผ่านการคัดเลือก 10 ทีมสุดท้ายได้แก่
- ทีมเนมมาเอาชัย ผลงาน การพัฒนาถ่านชีวภาพ จากเหง้าต้นสำปะหลังและกากกาแฟ จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จังหวัดสตูล
- ทีม Yolo ผลงาน เปลือกหอยสร้างบ้าน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี
- ทีม RU OK ผลงาน นวัตกรรมการท่องเที่ยวชุมชนไร้ขยะ (ปิล็อกสโลว์ไลฟ์ ไร้ขยะ) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตจักรพงษ์ภูวนาถ กรุงเทพมหานคร
- ทีม EnviE ผลงาน Wastewater Treatment Efficiency using Thin Biofilm Filter Form Kombucha for oil Removal from food Restaurant Effluent จากสถาบัน KOSEN มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพมหานคร
- ทีม Pilleus gang ผลงาน เพาะเห็ดนางฟ้าจากขี้เลื่อยกิ่งผลไม้เมืองจันท์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี
- ทีม The Remedy ผลงาน ถุงดูดซับทรายน้ำมันจากกากกาแฟ ที่เสริมประสิทธิภาพด้วยน้ำหมักคีเฟอร์น้ำผลไม้ท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหาคราบน้ำมันปนเปื้อนในโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี จากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี กรุงเทพมหานคร
- ทีม ACR ผลงาน กาวจากน้ำมันหอมระเหยมะกรูดและโฟม จากโรงเรียนอัสสัมชัญระยอง จังหวัดระยอง
- ทีม 3 สหายคล้ายจะเป็นลม ผลงาน ฟองน้ำจากเส้นใยธรรมชาติ รักษาความชื้นและลดความเค็มในดินสำหรับการเพาะปลูก จากโรงเรียนศรีบุณยานนท์ จังหวัดนนทบุรี
- ทีมโครงงานโครงใจ สู่การพัฒนา ผลงาน อิฐ (รักษ์โลก) จากพลาสติก PET และกากมะพร้าวเหลือทิ้ง จากโรงเรียนดารุสสาลาม จังหวัดนราธิวาส
- ทีม Lollypop ผลงาน ไบโอโฟมจากเส้นใยเปลือกข้าวโพดจากโรงเรียนดารุสสาลาม จังหวัดนราธิวาส
ทั้งนี้รอบตัดสินจะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม 2566 โดยทีมที่ชนะเลิศจะได้รับทุนการศึกษา 30,000 บาท พร้อมรับทุนสำหรับพัฒนาชุมชน มูลค่าถึง 100,000 บาท พร้อมโล่และประกาศเกียรติคุณ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับทุนการศึกษา 20,000 บาท พร้อมโล่และประกาศเกียรติคุณ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับทุนการศึกษา 10,000 บาท พร้อมโล่และประกาศเกียรติคุณ และรางวัล Best Popular Vote 1 รางวัล รับทุนการศึกษา 5,000 บาท