IAM แถลงผลงานปี 2566 พร้อมวางกลยุทธ์ดำเนินการเชิงรุกในปี 2567

-

บริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด (บสอ. หรือ IAM) แถลงผลการดำเนินงาน        ปี 2566 โดยมีรายได้จากการดำเนินงานรวม 1,385 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรสุทธิกว่า 522 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่งมาจากการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) ทั้งในกลุ่มลูกหนี้รายใหญ่และรายย่อย รวมถึงการจัดการทรัพย์สิน          รอการขาย (NPA) ด้วยกลยุทธ์การตลาดแบบสร้างเครือข่าย ยังคงดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งกำหนดทิศทางองค์กรสำหรับปี 2567 เตรียมพร้อมดำเนินงานเชิงรุก ในการเพิ่มประสิทธิภาพการรับชำระหนี้ครอบคลุมลูกหนี้ทุกกลุ่มและเพิ่มช่องทาง Digital ในการจำหน่าย ทรัพย์สินรอการขาย (NPA)  โดยมุ่งเน้นยกระดับกระบวนการสู่การบริหารงานรูปแบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มศักยภาพในกระบวนการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพและการจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย  รวมทั้งส่งเสริมพัฒนาภาพลักษณ์องค์กรต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย(Stakeholder) ตลอดจนการส่งเสริมศักยภาพการบริหารจัดการองค์กรให้มีความเข้มแข็งทั้งในด้านระบบงานและการพัฒนาบุคลากร พร้อมรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืน

นางโศรยา ลิมปิทีป ผู้จัดการ บริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด

นางโศรยา ลิมปิทีป ผู้จัดการ บริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด แถลงผลการดำเนินงานในปี 2566 ในด้านการรับชำระหนี้และจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย (Cash Collection) รวม 1,821 ล้านบาท  มาจากการรับชำระหนี้จากกลุ่มลูกหนี้รายใหญ่และรายย่อย 1,685 ล้านบาท และการจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย 136 ล้านบาท โดยผลประกอบการรับรู้เป็นรายได้จากการดำเนิงานรวม 1,385 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรสุทธิ 522 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 19% จากการเร่งรัดการรับชำระหนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับในด้านการจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย บสอ. ได้เพิ่มช่องทางการจำหน่าย บนช่องทางออนไลน์ จัดให้มีการประมูลทรัพย์สินรอการขายในรูปแบบออนไลน์         การออกบูธและลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ Road Show ส่งผลให้รายได้จากการขายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้ บสอ. ยังตอบสนองนโยบายภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ตามมาตรการ โดยได้เข้าร่วมมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้       ทั่วประเทศ ซึ่งจัดโดยกรมบังคับคดี จำนวน 5 ครั้ง มีลูกหนี้เข้ารับบริการรวมทั้งสิ้น จำนวน 155 ราย  ยอดไกล่เกลี่ยรวมกว่า 60 ล้านบาท

สำหรับทิศทางการดำเนินงานและเป้าหมายในอนาคตนั้น ในปี 2567 บสอ. ยังคงขับเคลื่อนองค์กร          พร้อมดำเนินงานเชิงรุก (Strive and Reform) กำหนดวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อยกระดับกระบวนการสู่ดิจิทัล(Enforce Digitize Process) มุ่งเน้นการบริหารจัดการสินทรัพยด้อยคุณภาพและการจำหน่าย NPA ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยจัดทำแผนปฏิบัติการในการเร่งรัดกระบวนการติดตามการรับชำระหนี้ ทบทวนระบบงาน (Work System) กระบวนการทำงานให้มีการเชื่อมโยงและส่งเสริมการทำงานร่วมกัน ปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการ Outsource ในกระบวนการติดตามหนี้ รวมถึงการขยายช่องทางการจำหน่าย NPA และกำหนดมาตรการส่งเสริมการขาย   ที่เหมาะสมเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการบริหารหนี้ และการบริหารทรัพย์สินรอการขาย เช่นการพัฒนาตัวแบบในการวิเคราะห์ Margin ที่เหมาะสมเพื่อการตัดสินใจ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลในการใช้งานร่วมกัน

นอกจากนี้ บสอ. ยังส่งเสริมการพัฒนาภาพลักษณ์องค์กรต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย (Enterprise Image) ในการปรับภาพลักษณ์และสร้างการรับรู้ในบทบาทของ บสอ.  และส่งเสริมองค์กรให้มีการดำเนินการอย่างโปร่งใส รวมถึงการส่งเสริมศักยภาพการบริหารจัดการองค์กร (Enhanced Core Business Enablers) โดยการทบทวนกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเพื่อรองรับการดำเนินงาน และยกระดับระบบบริหารทุนมนุษย์ (HRM) ทบทวนยกระดับแรงจูงใจ ระบบประเมินผล และการจัดการความรู้ (Knowledge Management)

ทั้งนี้ นางโศรยา ลิมปิทีป ยังเน้นย้ำถึงภารกิจและแนวคิดในด้านการบริหารงานเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรด้วยว่า “จากการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน และปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้มีสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น บสอ. ยังได้เตรียมความพร้อมทั้งในด้านระบบและบุคลากร และแผนงานรองรับในเรื่องการวิเคราะห์หา Real Demand สินทรัพย์ด้อยคุณภาพของ SFIs และการจัดเตรียม Pricing Model ในการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเพิ่มเติม รวมถึงการเร่งพัฒนาระบบ DATA Warehouse เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงฐานข้อมูล พร้อมนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนกระบวนการต่าง ๆ รองรับตามแผนการดำเนินงานในปี 2568 – 2570 ในการสร้างความมั่นใจต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อบทบาทใหม่ขององค์กร (Criteria to Obligation) ต่อไป

ซึ่งจากแผนการดำเนินงานดังกล่าว บสอ. มีความมั่นใจว่าจะสามารถผลักดันให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ สามารถขับเคลื่อนองค์กรต่อไปภายใต้การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยยังคงให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล การจัดการองค์ความรู้ นวัตกรรมและการบริหารทุนมนุษย์ ให้สามารถตอบสนองกับสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจทั้งปัจจุบันและการแข่งขันในอนาคต ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อก้าวไปสู่การบรรลุพันธกิจและวิสัยทัศน์ต่อไปได้”

Brand doc.

Digital

Movement

News

Marketing